ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือด้ายถักตรา Kevlar® เป็นจำนวนมากในตลาด หากมองแค่ผิวเผิน ดูเหมือนว่าถุงมือด้ายถักจะเหมือนกันหมด อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรมากมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตถุงมือ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการตัดเฉือน
ในบรรดาตัวแปรหลายๆตัว น้ำหนักของถุงมือด้ายถักที่ทำจากเส้นด้ายปั่น Kevlar® 100% เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพราะในการผลิตถุงมมือขนาดใดๆ ปริมาณของด้าย Kevlar® ที่ใช้มีมากเท่าใด การป้องกันก็ย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น น้ำหนักโดยทั่วไปต่อถุงมือด้ายถัก Kevlar® หนึ่งคู่จะอยู่ระหว่าง 60-65 กรัม และเป็นไปได้เช่นกันที่จะพบถุงมือที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติแต่ไม่ได้ทำจากด้ายปั่น Kevlar® 100%
ในรูปที่ 1 ด้ายปั่นด้านล่างคือด้ายฝ้ายย้อมสีเหลือง ขณะที่ด้านบนเป็นด้ายปั่น Kevlar® ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเป็นสีธรรมชาติ ซึ่งแสดงถึงความยากในการแยกความแตกต่างระหว่างด้ายปั่นของวัสดุสองชนิด และความจริงข้อนี้ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการลดต้นทุนนำด้ายฝ้ายปั่นย้อมสีเหลืองมาใช้ในการผลิตเพื่อให้ถุงมือได้น้ำหนักตามมาตรฐาน
การป้องกันการตัดเฉือนและการฟันสามารถดูได้จากการรับรอง มาตรฐาน EN 388 โดยในส่วนของถุงมือกันบาด ลักษณะการใช้งานนั้นจะดูได้จาก การทนต่อแรงเฉือน
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะทางกายภาพเชิงกลของถุงมือ ว่ามีความทนต่อการใช้งานในลักษณะใดบ้าง โดยจะใช้เลข4 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้
- การทนต่อการเสียดสี: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่ต้องผ่านการเสียดสี
- การทนต่อการบาดคม: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบต้องตัดผ่านถุงมือตัวอย่างด้วยความเร็วคงที่
- การทนต่อแรงเฉือน: ขึ้นกับแรงเฉือนที่กระทำต่อตัวอย่าง
- การทนต่อการเจาะทะลุ: ขึ้นกับแรงเจาะในลักษณะแบบเป็นจุดเดียวที่กระทำต่อตัวอย่าง
Performance level | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
a. การทนต่อการเสียดสี (รอบ) | 100 | 500 | 2000 | 8000 | n/a |
b. การทนต่อการบาดคม (factor) | 1.2 | 2.5 | 5.0 | 10.0 | 20.0 |
c. การทนต่อแรงเฉือน (นิวตัน) | 10 | 25 | 50 | 75 | n/a |
d. การทนต่อการเจาะทะลุ (นิวตัน) | 20 | 60 | 100 | 150 | n/a |